ขันตอนการจดทะเบียนหอการค้า |
 |
การจดทะเบียนหอการค้า |
ตัวอย่างการจดทะเบียนจัดตั้งหอการค้า/ ตัวอย่างการจัดส่งทะเบียนสมาชิก/
ตัวอย่างการร่างข้อบังคับ/ ตัวอย่างการจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการ/
ตัวอย่างการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ/
ตัวอย่างการจดทะเบียนเลิกหอการค้า / ตัวอย่างการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี/
สภาหอการค้าและหอการค้าไทย / รายชื่อหอการค้าในต่างประเทศ/ รายชื่อหอการค้าในต่างจังหวัด
|
ลักษณะของหอการค้า
หอการค้า คือ สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหากำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน
หอการค้า มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. หอการค้าจังหวัด
2. หอการค้าไทย
3. หอการค้าต่างประเทศ
4. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
การจัดตั้งหอการค้า
การจัดตั้งหอการค้า มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งหอการค้า จำนวนไม่น้อยกว่า 5 ราย ร่วมกันจัดตั้งหอการค้า
2. ผู้เริ่มก่อการทั้ง 5 ราย กรอกแบบคำขออนุญาตจัดตั้งหอการค้า (ห.ก.ค.1) ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแนบเอกสารที่จำเป็น ต่อไปนี้
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรอื่น แล้วแต่กรณี ของผู้เริ่มก่อการทุกคน
2.2 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เริ่มก่อการทุกคน
2.3 ข้อบังคับของหอการค้าที่ขอจัดตั้ง
2.4 หลักฐานแสดงการประกอบวิสาหกิจของผู้เริ่มก่อการจัดตั้ง ได้แก่ หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน/บริษัท หรือทะเบียนพาณิชย์ หรือหนังสือรับรองของทางราชการ
2.5 หลักฐานแสดงประวัติ และความประพฤติ ได้แก่ แบบรับรองประวัติ (ห.ก.ค.7)
2.6 หลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของหอการค้า โดยเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในสถานที่ พร้อมแผนที่สังเขปแสดงที่ตั้ง
3. ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งหอการค้ายื่นเอกสารทั้งหมด จำนวนอย่างละ 3 ชุด ที่สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2547-5982 โทรสาร 0-2547-5972 กรณีที่ขอจัดตั้งในท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ
4. หลังจากตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สำนักทะเบียนธุรกิจ
จะดำเนินการตรวจสอบสถานที่ตั้งของหอการค้าให้ถูกต้องตรงกับข้อบังคับ
5. สำนักทะเบียนธุรกิจ ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและสถานที่ตั้งของหอการค้าแล้ว นายทะเบียนหอการค้าจะออกใบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นหอการค้า ภายใน 9 วันทำการ โดยผู้เริ่มก่อการจัดตั้งหอการค้าต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท ณ สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
6. หอการค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นหอการค้า จะมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสิทธิและหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติตามที่ พระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509 กำหนดไว้ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้ดำเนินการเพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สถานที่ยื่นคำขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนหอการค้า ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร : ยื่นต่อนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ส่วนจดทะเบียน-สมาคมการค้าและหอการค้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
2. ในต่างจังหวัด : ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในจังหวัดที่สำนักงานของหอการค้าตั้งอยู่
หมายเหตุ เนื่องจากปัจจุบันหอการค้าจังหวัดได้จัดตั้งครบทุกจังหวัดแล้ว ดังนั้น หอการค้าที่สามารถจัดตั้งเพิ่มขึ้น มีเพียงประเภทเดียว คือ หอการค้าต่างประเทศซึ่งจะจัดตั้งขึ้นได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น
ค่าธรรมเนียม
การจดทะเบียนหอการค้า ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตามประเภทการจดทะเบียนต่าง ๆ ดังนี้
1. การจดทะเบียนจัดตั้ง
- ใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม 500 บาท
2. การจดทะเบียนแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ
- ค่าธรรมเนียม คำขอละ 5 บาท
3. การจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการ
- ค่าธรรมเนียม คำขอ 5 บาท
หน้าที่ของหอการค้า
หอการค้า ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509 ดังนี้
1.หาสมาชิกเมื่อได้สมาชิกแล้วจะต้องทำทะเบียนสมาชิกตามแบบที่กำหนดและจัดส่งสำเนาทะเบียนสมาชิกไปให้นายทะเบียนหอการค้าฯ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งหอการค้า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนสมาชิก ให้ส่งสำเนาทะเบียนสมาชิกที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วไปให้นายทะเบียนหอการค้า ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงทะเบียนหอการค้า
2. เลือกตั้งคณะกรรมการชุดแรกของหอการค้า (อาจเป็นเวลาประมาณ 90 วัน หรือ 120 วัน นับแต่ได้รับอนุญาตซึ่งแล้วแต่ข้อบังคับของแต่ละหอการค้า)
2.1 การเลือกตั้งคณะกรรมการนี้ จะต้องกระทำโดยการเรียกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก
2.2 เมื่อเลือกตั้งคณะกรรมการหอการค้าแล้ว หอการค้าจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนบุคคลเหล่านี้เป็นกรรมการพร้อมแนบรายงานการประชุมใหญ่ต่อนายทะเบียนหอการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่ วันประชุมใหญ่ ไม่ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งหรือไม่ก็ตาม (คำขอจดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยน ตัวกรรมการนี้ หากเป็นหอการค้าซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค ควรจัดทำยื่นต่อนายทะเบียนหอการค้า 2 ชุด เพื่อสำนักงานทะเบียนหอการค้าประจำจังหวัดนั้น จะได้ส่งให้สำนักงานกลางทะเบียนหอการค้า 1 ชุด)
3. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบดุลรอบปีการบัญชีของหอการค้านั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานกิจการประจำปีต่อที่ประชุมภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีการบัญชีหรือเดือนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
4. เมื่อที่ประชุมใหญ่อนุมัติงบดุล บัญชีรายได้-รายจ่าย และรายงานประจำปี หอการค้าจะต้องจัดส่งงบดุลและรายงานประจำปีพร้อมรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปีต่อนายทะเบียนหอการค้าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติเป็นประจำทุกปี
5. ถ้ามีการแก้ไขข้อบังคับโดยมติที่ประชุมใหญ่จะต้องนำไปจดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับต่อ นายทะเบียนหอการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้แก้ไขพร้อมทั้งแนบรายงานการประชุมซึ่งระบุการแก้ไขข้อบังคับไปด้วย
6. เมื่อที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการหรือเปลี่ยนตัวกรรมการ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหอการค้า ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเลือกตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการพร้อมทั้งแนบรายงานการประชุม ซึ่งระบุการเลือกตั้งกรรมการที่ประชุมรับรองฐานะและความประพฤติของผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการทุกคน
7. กรรมการใหม่ที่ได้รับเลือกตั้ง ต้องแนบคำขอเป็นกรรมการตามแบบพิมพ์ที่กำหนด ซึ่งต้องกรอก รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การศึกษาการประกอบวิสาหกิจให้ครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายและลงลายมือชื่อกำกับด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาการตรวจสอบความประพฤติประกอบคำขอจดทะเบียนกรรมการ
8. ในการประชุมใหญ่ทุกครั้ง ควรมีหนังสือแจ้งให้สำนักทะเบียนธุรกิจ ทราบ เพื่อพิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมสังเกตการณ์ประชุมตามโอกาสอันควร
9. ถ้าหอการค้าไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป และขาดการติดต่อกับสำนักงานทะเบียนหอการค้า เกิน 2 ปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อาจใช้ดุลยพินิจให้เลิกหอการค้าได้
10. การจัดส่งเอกสารต่าง ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น จะต้องกระทำตามกำหนดโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะมีความผิด และต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนด
11. การเลิกหอการค้า จะต้องแจ้งให้นายทะเบียนหอการค้าทราบ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุทำให้เลิกซึ่งมี 4 กรณี คือ
11.1 เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
11.2 เมื่อล้มละลาย
รายการจดทะเบียน, คำขอจดทะเบียน และเอกสารประกอบตามพระราชบัญญัติหอการค้า พ.ศ.2509
ประเภทการจดทะเบียน
1. จดทะเบียนจัดตั้ง
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.1
- แบบรับรองประวัติ (ห.ก.ค.7)
- เอกสารประกอบ ข้อ 2.1-2.7
2. จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.5
- เอกสารประกอบรายการ :
1) รายงานการประชุมครั้งที่มีมติให้แก้ไขข้อบังคับ
2) ข้อบังคับเปรียบเทียบข้อที่ขอแก้ไข
3) เอกสารแสดงการยินยอมให้ใช้สถานที่ เช่น สัญญาเช่า (กรณีย้ายที่ตั้ง)
4) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
3. จดทะเบียนตั้งหรือเปลี่ยนตัวกรรมการ
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.6
- แบบรับรองประวัติ (ห.ก.ค.7)
- รายชื่อคณะกรรมการ (ห.ก.ค.8)
- เอกสารประกอบรายการ :
1) รายงานการประชุมครั้งที่มีมติให้เลือกกรรมการ
2) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4. จดทะเบียนเลิกหอการค้า
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.10
- เอกสารประกอบรายการ :
1) รายงานการประชุมใหญ่
2) ใบอนุญาตหอการค้า
3) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ขอจดทะเบียน
5. จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.11
- คำขอ : แบบ ห.ก.ค.12
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในแบบแจ้งเสร็จการชำระบัญชี
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
6. การแจ้งทะเบียนสมาชิก
- รายการ : แบบ ห.ก.ค.9
- เอกสารประกอบรายการ : หนังสือนำส่ง |
|
|
|
|
|